Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล

หน้าแรก เกร็ดความรู้ Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล

ฐานข้อมูลล่าสุด : สิงหาคม 2559
ชื่ออาหาร (140 รายการ) ค่าดัชนี GI
รายการอาหาร ค่าดัชนี ค่า GI
Coca Cola ปานกลาง 53
กระหล่ำปลี ต่ำ 10
กล้วย ปานกลาง 52
กล้วยไข่สุก ต่ำ 44
กล้วยไข่สุกงอม ต่ำ 46
กล้วยน้ำว้าสุก ต่ำ 37
กล้วยน้ำว้าสุกงอม ต่ำ 47
กล้วยสุก ปานกลาง 62
กล้วยหอมสุก ต่ำ 46
กล้วยหอมสุกงอม ต่ำ 43
กีวี่ ปานกลาง 53
กีวีฟรุต ปานกลาง 58
เกเตอเรท สูง 78
เกร๊ปฟรุ๊ต ต่ำ 25
แก้วมังกร ต่ำ 37
ขนมปังกรอบเวดฟอร์ สูง 77
ขนมปังขาว ปานกลาง 70
ขนมปังฝรั่งเศส สูง 95
ขนมปังโฮลวีท ปานกลาง 53
ขนุน ปานกลาง 51
ข้าว สูง 88
ข้าวกรอบ สูง 82
ข้าวขาว (ข้าวเจ้า) สูง 87
ข้าวขาวหัก สูง 72
ข้าวซ้อมมือ ปานกลาง 55
ข้าวบัสมาติ ปานกลาง 58
ข้าวบาร์เลย์ ต่ำ 25
ข้าวโพด ปานกลาง 60
ข้าวโพดแผ่น ทอดกรอบ สูง 72
ข้าวเหนียว สูง 98
ข้าวโอ๊ต ปานกลาง 65
ครัวซอง ปานกลาง 67
คอร์นเฟลกซ์ สูง 77
คอร์นเฟลค สูง 92
เค้ก สูง 77
แคนตาลูป ปานกลาง 65
แครอท ต่ำ 49
โคล่า ปานกลาง 65
เจลลี่บีน สูง 80
ช็อคโคแลตแท่ง ต่ำ 49
เชอรี่ ต่ำ 22
ซีรีล แบรนด์ ต่ำ 38
ซุปมะเขือเทศ ต่ำ 38
โดนัท สูง 76
แตงกวา ต่ำ 15
แตงโม สูง 72
ถั่ว ต่ำ 15
ถั่วพีแห้ง ต่ำ 28
ถั่วเม็ดเขียว ต่ำ 48
ถั่วลิสง ต่ำ 15
ถั่วเหลืองต้ม ต่ำ 26
ทุเรียน ต่ำ 39
นมขาดมันเนย ต่ำ 32
นมช็อคโกแลต ต่ำ 34
นมเต็มไขมัน ต่ำ 34
นมถั่วเหลือง ต่ำ 30
นมพร่องมันเนย ต่ำ 32
นมสด ต่ำ 40
น้ำเกรฟฟรุต ต่ำ 48
น้ำตาลทราย ปานกลาง 64
น้ำผึ้ง ปานกลาง 58
น้ำมะเขือเทศ ต่ำ 38
น้ำส้ม ปานกลาง 52
น้ำสับปะรด ต่ำ 46
น้ำแอปเปิ้ล ต่ำ 40
บร็อคโคลี่ ต่ำ 15
บร๊อคโคลี่ ต่ำ 10
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ต่ำ 47
ผลไม้ผสมฟรุตคอกเทล ปานกลาง 55
ผลไม้รวมกระป๋อง ปานกลาง 55
ผลส้ม ต่ำ 42
ผักกาดแก้ว ต่ำ 10
ผักโขม ต่ำ 15
ผักสลัด ต่ำ 10
เผือก ปานกลาง 51
ฝรั่ง ต่ำ 17
พริกหยวก ต่ำ 10
พลัม ต่ำ 24
พัฟข้าวสาลี ปานกลาง 67
พิซซ่า ปานกลาง 60
พิซซ่าหน้าชีส ปานกลาง 60
พีช ต่ำ 42
พีชกระป๋อง ต่ำ 40
เพรสเซิ้ล สูง 83
แพนเค้ก ปานกลาง 67
แพร์กระป๋อง ต่ำ 43
แพร์สด ต่ำ 38
ฟักทอง สูง 75
เฟรนซ์ไฟรด์ สูง 75
มะเขือเทศ ต่ำ 15
มะเขือยาว ต่ำ 15
มะม่วง ปานกลาง 56
มะม่วงอกร่อง ปานกลาง 51
มะละกอ ปานกลาง 56
มักกะโรนี ต่ำ 45
มักกะโรนีและชีส ปานกลาง 64
มันเทศ ปานกลาง 51
มันฝรั่ง ปานกลาง 56
มันฝรั่งต้ม สูง 88
มันฝรั่งบด สูง 86
มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ ปานกลาง 56
มันฝรั่งอบ สูง 85
มันฝรั่งอบหรือเผา สูง 85
มัฟฟิน สูง 77
มูสลี่ ต่ำ 43
แยมผลไม้ ต่ำ 49
โยเกิร์ต low fat ไม่หวาน ต่ำ 14
โยเกิร์ต ใช้น้ำตาลเทียม ต่ำ 14
โยเกิร์ต ใช้น้ำตาลแท้ ต่ำ 33
โยเกิร์ตผลไม้ ต่ำ 36
โยเกิร์ตรสธรรมชาติ ต่ำ 14
ละมุด ต่ำ 47
ลำไย ต่ำ 43
ลูกเกด ปานกลาง 64
ลูกพรุน ต่ำ 29
ลูกพลัม ต่ำ 39
ลูกพีช ต่ำ 42
ลูกแพร์ ต่ำ 38
และลำไย ปานกลาง 53
วุ้นเส้น ต่ำ 26
สตรอเบอรี่ ต่ำ 40
สปาเก็ตตี้ ต่ำ 41
ส้ม ต่ำ 43
ส้มเกรพฟรุต ต่ำ 25
ส้มโอ ต่ำ 25
สับปะรด ปานกลาง 66
เส้นหมี่ ปานกลาง 58
หัวหอม ต่ำ 10
เห็ด ต่ำ 10
องุ่น ต่ำ 46
อินทผาลัม สูง 103
แอปเปิ้ลสด ต่ำ 39
แอปเปิ้ลแห้ง ต่ำ 29
แอปริค็อต ต่ำ 34
แอพริคอทแห้ง ต่ำ 30
โอ๊ตแบรนด์ ปานกลาง 55
ไอศกรีม ไขมันต่ำ ต่ำ 50
ไอศครีม ต่ำ 38
ไอศครีมวนิลา ไขมันต่ำ ปานกลาง 60

ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index: GI) เป็นตัวเลขบ่งบอกว่า อาหารที่เรารับประทานนั้นมีค่าน้ำตาลเป็นอย่างไร โดยหากมีค่าดัชนีน้ำตาลสูง หมายถึงว่า หลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว ร่างกายของคุณได้ดูดซึมอาหารนั้นเร็วกว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่า จนส่งผลให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่า 

ซึ่งสรุปง่ายๆ ก็คือ หากค่าดัชนีน้ำตาลสูงหลังจากรับประทานอาหารแล้ว ก็จะทำให้อิ่มได้ไม่นานนั่นเอง

อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่านั้น เป็นอาหารที่ดีที่สุดในการเลือกรับประทาน เพราะทำให้อิ่มนาน ระหว่างมื้ออาหารไม่กินจุกจิก โดยส่วนมากมักพบในอาหารที่มีกากใยสูง หวานน้อย และในพืชผักหลายชนิด รวมไปถึงการแปรรูปอาหารก็มีส่วนทำให้ค่าดัชนีน้ำตาลในอาหารนั้นๆ ลดลง 

ดังนั้นหากเลือกได้ คุณควรเลือกรับประทานอาหารที่มีเลขค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ จะดีต่อสุขภาพมากกว่า อย่างไรก็ตาม การเลือกรับประทานอาหารด้วยค่าดัชนีน้ำตาล ยังไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะตัดสินว่า คุณเลือกรับประทานอาหารอะไร 

เพราะยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ทำให้ค่าดัชนีน้ำตาลเปลี่ยนแปลงได้ เช่น วิธีการปรุงอาหาร ความร้อนในการปรุง  ประสิทธิภาพของการนำอินซูลินไปใช้ในร่างกายของแต่ละคน

เรื่องควรรู้

  • ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) ถือเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับผู้เป็นเบาหวาน และผู้ที่ต้องการจะลดน้ำหนัก
  • คุณสามารถใช้ค่า GI เพื่อวางแผนโภชนาการได้ โดยเลือกกินอาหารที่มีค่า GI ต่ำกว่าก่อนเสมอ
  • แต่อาจต้องระวังอาหารที่มีค่า GI ต่ำ แต่มีไขมันสูงด้วยเช่นกัน
  • ดัชนีน้ำตาล เป็นค่าตัวเลขที่จะบอกว่า อาหารที่คุณรับประทานนั้นมีค่าน้ำตาลอย่างไร
  • อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง คืออาหารที่ร่างกายดูดซึมได้เร็ว ทำให้อิ่มท้องได้ไม่นาน และเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเร็ว
  • อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ทำให้อิ่มนาน พบในอาหารที่มีกากใยสูง ผักผลไม้ อาหารที่รสชาติหวานน้อย
  • การแปรรูปอาหาร ทำให้ค่าดัชนีน้ำตาลลดลงได้
  • การรับประทานอาหารจุกจิกจะทำให้คุณเสี่ยงเกิดภาวะอ้วน หรือโรคเบาหวานได้ ควรควบคุมสารอาหารที่ตนเองรับในแต่ละวัน และหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ

 

Glycemic Index (GI)

คือ ค่าดัชนีน้ำตาลที่ออกมาในรูปแบบของตัวเลข สามารถบอกได้ว่าเราทานอาหารเข้าไปมีน้ำตาลมากน้อยเพียงใด ยิ่งอาหารที่ทานมีตัวเลขสูง การดูดซึมน้ำตาลจะมากกว่าอาหารที่มีค่า GI น้อย จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอันตรายจนอาจทำให้ตาบอด ไตวาย หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือหรือหลอดเลือด

ค่า GI ต่ำ มีแนวโน้มที่จะปล่อยกลูโคสออกมาอย่างช้าๆและสม่ำเสมอ และจะเหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาล

ค่า GI สูง จะปล่อยน้ำตาลออกมาอย่างรวดเร็ว จะเหมาะสำหรับคนออกกำลังกายหนักๆหรือผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต้ำเพื่อปรับสมดุลในร่างกาย

ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานหรือคุณแม่หลังคลอดต้องคำนึงถึงค่า GI เป็นอย่างมาก เนื่องจากคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 1 และแม้แต่คนที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 จะไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอที่จะช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งหมายความว่าพวกเขามีระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป ดังนั้นจึงต้องควบคุมการรับประทานอาหารให้ได้น้ำตาลที่ต่ำเข้าสู่ร่างกายเพื่อที่ร่างกายจะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

 

Glycemic Load (GL)

คือ ปริมาณน้ำตาลในอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หรือเรียกอีกอย่างคือ ค่าเปรียบเทียบน้ำตาลในอาหาร ซึ่งจะมีการจัดระดับของ Glycemic Load (GL) อยู่ 3 ระดับ ได้แก่

Low : ค่า GL อยู่ที่ 10 หรือต่ำกว่า
Medium : ค่า GL อยู่ที่ 11-19
High : ค่า GL อยู่ที่ 20 หรือมากกว่านั้น
ซึ่งค่า GL ต่อวันที่ควรได้รับไม่ควรเกิน 100

 

เราสามารถหาค่า GL ได้ โดยที่เราต้องรู้ อาหารที่เรากินมีน้ำหนักกี่กรัม และมีคาร์โบไฮเดรตกี่กรัม ค่า GI เท่าไหร่

โดยสูตรหาค่า GL จะมีดังนี้ : (คาร์โบไฮเดรต * ค่า GI) / 100

*******  แต่อย่าลืมเปรียบเทียบกับอาหารที่มีน้ำหนักที่เท่ากัน ********

 

ยกตัวอย่างเช่น

แอปเปิ้ลน้ำหนัก 30 กรัม มีค่า GI คือ 38 และมีคาร์โบไฮเดรต 13 กรัม

GL = (13x38)/100 = 5

มันฝรั่งหนัก 30 กรัม มีค่า GI คือ 85 และมีคาร์โบไฮเดรต 14 กรัม

GL = (14x85)/100 = 12

ดังนั้น มันฝรั่งจะมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าแอปเปิ้ลมากกว่า 2 เท่า

 

แต่ถึงอย่างนั้น แม้ว่าอาหารบางอย่างจะมี GI ต่ำ แต่ไม่ได้หมายความว่า จะทานได้เยอะเท่าไหร่ก็ได้ เพราะไม่อย่างนั้นระดับน้ำตาลในเลือดก็สูงอยู่ดี หรือแม้ว่า อาหารบางอย่างจะมี GI สูง ก็ไม่ได้หมายความว่า ห้ามรับประทานเลย เราควรมีวินัยในการทานอาหาร ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป โดยอย่าลืมว่าค่า GL ต่อวันไม่ควรเกิน 100


ขอขอบคุณ: hd.co.th