ต้นพยุง

หน้าแรก ต้นไม้ ต้นพยุง

ชื่อสามัญ: Black wood

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dalbergia cochinchinensis

ตระกูล: LEGUMINOSAE 

ชื่ออื่น: พยูง กระยง ประดู่เสน


ลักษณะทั่วไป

พยุงเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ12-20 เมตรผิวเปลือกสีน้ำตาลคล้ำแตกสะเก็ดและเป็นแผ่น
บาง ๆ ใบออกกันเป็นช่อยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใบรวมมีใบย่อยประมาณ 6-10 ใบ ใบรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบมน
ขอบใบเรียบพื้นใบสีเขียวใบมีขนาดความยาว23นิ้วกว้างประมาณ1-2 นิ้วดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ออกตามปลายกิ่งมีสีเหลืองอ่อน
หรือขาวดอกมีขนาดเล็กผลเป็นฝักแบนยาวผิวเกลี้ยงฝักยาวประมาณ46เซนติเมตรกว้างประมาณ1-2 เซนติเมตรภายในมีเมล็ด
คล้ายเม็ดถั่ว

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นพยุงไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความเจริญความมั่นคงเพราะพยูงหรือพยุงคือการช่วยพยุงให้
คงอยู่ให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดความสง่า เพราะโบราณได้เปรีบเทียบไว้ว่ายูงยางสูงสว่าโดดเด่นเห็นตระการ
 ตา คือ มีความสว่าในตัวเอง ซึ่งคล้ายกับความสว่าของนกยูง ซึ่งเป็นสัตว์ชั้นสูงชนิดหนึ่ง และยังมีคนโบราณบางคนได้กล่าวไว้ว่า
พยุงหรือกระยงก็คือกระยงคงกระพันได้อีกแง่หนึ่งเช่นกันทั้งนี้เพราะโบ่ราณถือว่าเนื้อไม้ของพยุงเป็นไม้ที่แข็งแกร่งและมีอิทธิ
ฤทธิ์พอสมควร

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นพยุงไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อ
ว่าการปลูกไม้เอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองผู้ปลูกควรเป็นสุภาพบุรุษเพราะชื่อพยุงเป็นชื่อที่เหมาะ
สมสำหรับสภาถบุรุษนอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าแก่นไม้พยุงมีลักษณะที่แข็งแกร่งจึงเปรียบเทียมความแข็งแรงเหมือนกับสุภาพ
บุรุษ

การปลูก

นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1:2 ผสมดินปลูกถ้าปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านหรืออาคารควรปลูกให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะพยุงเป็น
ไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่ 

การดูแลรักษา

แสง: ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง 
น้ำ: ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน: ชอบดินร่วนซุย
ปุ๋ย: ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2: 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 2-3 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
                                   อัตรา 200-300 กรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
การขยายพันธุ์: การเพาะเมล็ด 
โรคและศัตรู: ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้ดี

ขอขอบคุณ: www.maipradabonline.com