​วิธีการเลือก ฟิล์มติดกระจก อาคาร คอนโด

หน้าแรก เกร็ดความรู้ ​วิธีการเลือก ฟิล์มติดกระจก อาคาร คอนโด

เป็นที่รู้กันดีว่าอากาศในบ้านเราร้อนมาก จนนับเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารสูง โดยเฉพาะในคอนโดที่หลีกเลี่ยงแสงแดดและความร้อนได้ยาก ยิ่งเป็นห้องที่ได้รับแสงแดดในช่วงบ่าย จึงต้องหาวิธีรับมือในแบบต่างๆ หากเลือกติดผ้าม่าน เมื่อเจอแดดแรงๆ ก็ไม่สามารถลดความร้อนได้ดีเท่าที่ควร อีกทั้งยังสิ้นเปลืองพลังงานจากเครื่องปรับอากาศอีกด้วย วิธีที่เห็นผลก็คงจะเป็น วิธีการเลือก ฟิล์มติดกระจก ลดความร้อน นั่นเอง

แต่ปัญหาที่ตามมาเมื่อเลือก ฟิล์มติดกระจก ก็คือ ชนิดของฟิล์มที่เลือกใช้ ควรจะมี วิธีการเลือก ฟิล์มชนิดใดให้เหมาะกับการใช้งานในคอนโดมากที่สุด ซึ่งก่อนอื่นควรจะทราบก่อนว่า ความร้อนที่เราได้รับนั้น เกิดจากองค์ประกอบทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ 1. ความสว่างของแสง ที่ทำให้เกิดความร้อนสะสม 2. รังสีอินฟราเรด หรือก็คือ รังสีความร้อนที่ทำให้เรารู้สึกแสบผิวขณะโดนแดดนั่นเอง 3. รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นส่วนที่ทำให้เกิด สิว ฝ้า กระ หรือมะเร็งผิวหนัง

อีกทั้งยังทำให้เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ภายในห้อง อุปกรณ์หรือข้าวของเครื่องใช้สีซีด หรือเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็นด้วยเช่นกัน

เมื่อทราบถึงชนิดของแสงแดดแล้ว ก็มาดูกันที่ วิธีการเลือกฟิล์มติดคอนโดกันบ้าง ซึ่งควรเลือกฟิล์มที่เปิดรับแสงสว่างเข้ามาในอาคารได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็ช่วยลดความร้อนและป้องกันรังสียูวีได้อย่างเห็นผล แต่ด้วยความที่คอนโดส่วนใหญ่มักจะเป็นอาคารสูง จึงมีข้อจำกัดในการเลือกชนิดของฟิล์มเล็กน้อย

ก่อนอื่น มาทำความรู้จักชนิดของฟิล์มกันก่อน ฟิล์มลดความร้อน โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1. ฟิล์มเข้มไม่สะท้อนแสง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ฟิล์มดำไม่สะท้อนแสง

2. ฟิล์มเข้มสะท้อนแสง หรือฟิล์มปรอท

3. ฟิล์มใส

ซึ่งฟิล์มชนิดที่เหมาะกับการติดตั้งในอาคารสูงอย่างคอนโด ก็คือ ฟิล์มเข้มไม่สะท้อนแสง นั่นเอง ส่วนชนิดที่ไม่เหมาะสำหรับการติดตั้งในคอนโดเลยก็คือฟิล์มเข้มสะท้อนแสง เหตุผลก็เพราะ เมื่อติดตั้งฟิล์มเข้มสะท้อนแสงไว้บนอาคารสูง จะก่อให้เกิดการสะท้อนของแสงอาทิตย์ไปยังสายตาของผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง

นอกจากจะเป็นการรบกวนแล้ว ยังก่อให้เกิดทัศนวิสัยที่ไม่ดี จนอาจเกิดอุบัติเหตุต่อผู้ใช้ท้องถนนก็เป็นได้ ตรงกันข้ามกับฟิล์มเข้มไม่สะท้อนแสง ที่มีค่าการสะท้อนแสงด้านนอกต่ำ จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว

ประเภทของ ฟิล์มติดกระจก ลดความร้อน วิธีเลือกฟิล์มติดกระจก

1. ฟิล์มลดความร้อน (ฟิล์มกรองแสง) แบบย้อมสี

ช่วยปรับความสว่างในคอนโดให้น้อยลง เหมาะสำหรับห้องที่มีบานประตูหน้าต่างรับแสงโดยตรง ทำให้แสงส่องเข้ามาในห้องมากจนเกินไป แต่ทั้งนี้ฟิล์มชนิดนี้ก็จะไม่ช่วยลดความร้อนในคอนโด โดยจะให้แสงแดดให้น้อยลงแต่จะช่วยลดแสงที่สาดเข้ามาภายในห้องมากจนเกินไปมากกว่า

2.ฟิล์มลดความร้อน (ฟิล์มกรองแสง) วิธีลดความร้อนในคอนโด

ฟิล์มชนิดนี้เป็นฟิล์มที่เคลือบโลหะ ซึ่งทำหน้าที่ได้ทั้งลดความร้อนในคอนโดและลดแสงที่ผ่านเข้ามาในห้องจากกระจกให้น้อยลง จะทำให้สภาพภายในห้องไม่ร้อนและไม่สว่างจนเกินไป สีของฟิล์มกระจกนั้นจะแตกต่างกันตามโลหะที่ใช้เคลือบกระจกค่ะ

ชั้นของ ฟิล์มติดกระจก และ วิธีเลือกฟิล์มติดกระจก

ชั้นของฟิล์มลดความร้อนมี 4 ชั้นด้วยกัน ฟิล์มบางรุ่นของบางยี่ห้อบอกว่ามีชั้นต่างๆ ถึง 200 กว่าชั้นในขณะที่ตัวฟิล์มมีแผ่นบางเท่าแผ่นกระดาษ มาดูว่า ฟิล์มลดความร้อนในคอนโด มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

1. ส่วนที่เป็น liner เป็นส่วนที่ปิดผนึกชั้นกาวเอาไว้ ลักษณะเหมือนกระดาษแปะหลังสติกเกอร์ เมื่อไรที่จะติดฟิล์มกับกระจกถึงจะลอกออก

2. ส่วนที่เป็นกาว จะเป็นส่วนที่ยึดระหว่างกระจกกับชั้นฟิล์มเอาไว้ด้วยกัน ถ้าเป็นฟิล์มเกรดดีๆ นอกจากจะแรงยึดเกาะสูงแล้ว ทนความร้อนได้ดี ไม่ละลายเยิ้มและถ้าเป็นฟิล์มคุณภาพสูงที่ผ่านมาตรฐานจาทางยุโรปก็จะระบุว่าใช้กาว low VOC หรือ กาวปลอดสารพิษด้วย กาวในฟิลม์บางรุ่นก็จะมีคุณสมบัติยึดกระจกให้ติดกันไม่แตกกระจาย

3. ส่วนที่เป็นชั้นฟิล์ม ชั้นนี้เป็นพระเอกของงานก็ว่าได้ บางยี่ห้อจะมีชั้นฟิล์มมากกว่า 1 ชั้น เช่นชั้นฟิล์มสี ที่ช่วยลดปริมาณแสงที่เข้ามา ชั้นเคลือบโลหะที่ป้องกัน ลด และสะท้อนความร้อนออกไป ชั้นนาโนเซรามิค หรืออะไรก็แล้วแต่

4. ส่วนที่เป็นสารเคลือบแข็ง ป้องกันเนื้อฟิล์มไม่ให้เกิดรอยขีดข่วน ที่นอกจากจะทำให้ไม่สวยงามแล้ว ยังไปทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันความร้อน ลดแสงจ้าลดลง

อย่าพึ่งเข้าใจว่าฟิล์มกรองแสงที่มีความทึบจะช่วยลดความร้อนได้ เพราะบางชนิดดังที่กล่าวไปข้างต้นมีหน้าที่เพียงช่วยลดความแรงของแสงที่ส่องเข้ามาให้น้อยลง แต่ระดับความร้อนยังคงสามารถเข้ามาได้เท่าเดิม ดังนั้นทางที่ดีก่อนเลือกซื้อควรเลือกให้คุ้มค่ากับการใช้งานมากที่สุด

คือมีความสามารถทั้งกรองแสง ความร้อนและรังสียูวีให้เข้ามาในบ้านได้น้อยลง แต่สิ่งเหล่านี้ก็จะตามมาด้วยราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง แต่ถ้ามันคุ้มกับการใช้งานในระยะยาวและเพื่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยด้วยแล้วก็เหมาะที่จะติดตั้ง


ขอขอบคุณ: